ทักษะแห่งศตวรรษใหม่: ทักษะและความรู้ดิจิทัล

The best quality custom-made essay creating services are the one you have which might help! Our experts offer you only very good-higher quality papers that could meet even an most stressful professors essay help writing

term paper

Buy essay publishing by going online a reasonable selling price and choose an scholastic freelance writer which will provide an complete and original well-researched higher education report in exchange write my essay for me cheap uk

best custom writingการเป็นพลเมืองที่ดีในศตวรรษใหม่เรียกร้องทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งรวมถึงทักษะและความรู้ดิจิทัล (digital literacies) เพื่อให้พลเมืองประสบความสำเร็จในการทำงาน การใช้ชีวิต และการมีส่วนร่วมในสังคมการเมือง 

งานวิจัยด้านการศึกษาร่วมสมัยชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ทักษะและความรู้ที่จำเป็นต่อการเป็นพลเมืองและการทำงานในศตวรรษที่ 21 นั้นค่อนข้างแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 บางทักษะแม้จะมีลักษณะถาวร (perennial skills) มีความสำคัญมาตลอดทุกยุคทุกสมัย ไม่ใช่เฉพาะแต่ในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะ 4Cs ได้แก่ การคิดเชิงสร้างสรรค์ (creativity) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) การสื่อสาร (communication) และการทำงานเป็นทีม (collaboration) แต่ทักษะเหล่านี้มีลักษณะเปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล รวมถึงทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นจนกลายเป็นสิ่งที่ “ต้อง” มีมากกว่า “น่าจะ” มี ขณะที่บางทักษะถือเป็นทักษะชุดใหม่ที่จำเป็นในบริบทของศตวรรษใหม่ เช่น ทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และทักษะและความรู้ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีไอซีที

ทักษะและความรู้ดิจิทัลไม่ใช่สิ่งที่แยกขาดจากชุดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 แต่เป็นส่วนหนึ่งและทำงานร่วมกับทักษะอื่นๆ เช่น ทักษะในการคิดเชิงสร้างสรรค์และวิพากษ์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ด้านสารสนเทศและสื่อ ดังนั้นการทำความเข้าใจทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ดิจิทัล

 

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 คืออะไร?

 

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 กลายเป็น “คำยอดฮิต” ทั้งในและนอกแวดวงการศึกษา มีสถาบันและหน่วยงานมากมายพยายามนำเสนอกรอบคิดเพื่อนิยามทักษะแห่งศตวรรษใหม่นี้ เช่น องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) สมาคมเทคโนโลยีการศึกษานานาชาติ (ISTE) ศูนย์บริการทดสอบทางการศึกษา (ETS) รวมถึงรัฐบาลต่างๆ อย่างสิงคโปร์หรือฮ่องกง แต่กรอบคิดที่โดดเด่นในการอธิบายทักษะแห่งศตวรรษใหม่นี้เป็นของภาคีเพื่อการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Learning) หรือที่เรียกอย่างย่อว่า P21 ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของผู้มีส่วนได้เสียอันหลากหลาย อาทิ ผู้นำด้านการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ ภาคธุรกิจ 

ภาพที่ 1 แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของกลุ่ม P21 ซึ่งอธิบายชุดผลลัพธ์สำคัญสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผสมผสานทั้งเนื้อหาความรู้ (สาระวิชาหลักและความรู้สำคัญในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21) และชุดทักษะต่างๆ ซึ่งรวมถึงทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และทักษะชีวิตและการทำงาน เข้าด้วยกัน โดยผลลัพธ์เหล่านี้เชื่อมโยงกับระบบส่งเสริมการเรียนรู้รอบด้าน ได้แก่ มาตรฐานและการประเมิน หลักสูตรและวิธีการสอน การพัฒนาวิชาชีพ และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ซึ่งควรได้รับการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 

 

 

 

ทักษะและความรู้ดิจิทัล

 

เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้ภูมิทัศน์ด้านการสื่อสารและบรรทัดฐานทางสังคมเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการเสพสื่อ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หรือการสื่อสารกับผู้อื่น ทุกวันนี้เราอยู่ในโลกที่สามารถเข้าถึงสารสนเทศจำนวนมหาศาล อยู่ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และอยู่ในโลกที่เปิดโอกาสให้เราสามารถใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสรรค์สร้างและเผยแพร่แนวคิดได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  

การจะเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ในยุคดิจิทัลนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าเราจะต้องมีทักษะและความรู้ดิจิทัล ลำพังแค่เพียงการเข้าถึงเทคโนโลยีนั้นไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น ถ้าจะหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ เราต้องรู้ว่าจะแยกความแตกต่างระหว่างกลลวงการตลาดที่หลอกขายอาหารเสริมกับข้อมูลน่าเชื่อถือที่มาจากฐานงานวิจัยอย่างไร ถ้าจะหางานในโลกออนไลน์ เราก็ต้องมีทักษะในการค้นหาข้อมูลที่ตรงกับงานที่เราต้องการ ถ้าจะหาโอกาสด้านการศึกษาในโลกออนไลน์เพื่อพัฒนาตัวเอง เราก็ต้องรู้ว่าจะค้นหาแหล่งการศึกษาที่น่าเชื่อถือได้ที่ไหนและรู้จักเครื่องมือการเรียนรู้ออนไลน์ แล้วถ้าอยากลุกขึ้นมาทำกิจกรรมพัฒนาชุมชน เราก็ต้องรู้ว่าจะใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารและทำงานร่วมกับคนในชุมชนอย่างไร

ชุดทักษะและความรู้ดิจิทัลจะช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัลได้อย่างรอบด้าน นั่นคือ ใช้เครื่องมือดิจิทัลในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล (access) วิเคราะห์พร้อมทั้งประเมินคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล (analyze and evaluate) สร้างสรรค์เนื้อหาในรูปแบบของสื่อผสมผ่านเครื่องมือดิจิทัล (create) ตรวจสอบพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและการสื่อสารกับผู้อื่นโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและหลักจริยธรรม (reflect) รวมถึงใช้เครื่องมือดิจิทัลแบ่งปันความรู้และแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคมผ่านการทำงานร่วมกับผู้อื่น (act)

 

ภาพที่ 2: องค์ประกอบสำคัญของทักษะและความรู้ดิจิทัล2

 

 

ชุดทักษะและความรู้ด้านดิจิทัลนั้นมีหลากหลายมิติ ทั้งความรู้ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีไอซีที รวมถึงความรู้ด้านอื่นๆ เช่น การสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น ความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงวิพากษ์ ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้พลเมืองใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ทั้งต่อตนเองและสังคม หัวข้อถัดจากนี้เป็นทักษะความรู้ที่จำเป็นในยุคดิจิทัล พร้อมทั้งตัวอย่างประกอบ

 

1. ความรู้ด้านสารสนเทศ

โลกดิจิทัลเป็นโลกที่ท่วมท้นด้วยสารสนเทศจำนวนมหาศาล จนบางทีเราไม่สามารถจัดการและอาจเผลอเชื่อข้อมูลบางอย่างโดยไม่พินิจพิจารณาให้รอบคอบ ความรู้ด้านสารสนเทศ (information literacy) ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจัดการและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นมีดังนี้

  • ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทันท่วงที เข้าใจวิธีการเลือกใช้คำค้นหรือใช้กลยุทธ์การค้นหาอันหลากหลาย และรู้จักแหล่งข้อมูลที่ดี 
  • รู้เท่าทันว่าเนื้อหาที่พบในโลกออนไลน์ไม่สามารถเชื่อถือได้ทั้งหมดเพราะใครก็เผยแพร่เนื้อหาได้ และสามารถประเมินความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ เช่น รู้จักวิธีตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ หรือเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายแหล่งก่อนเชื่อและนำไปใช้ 
  • จัดการกับข้อมูลได้อย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น ใช้เครื่องมือดิจิทัลในการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
  • สามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลได้อย่างสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
  • เข้าใจประเด็นทางจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและการใช้ข้อมูล ตัวอย่างเช่น การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หลักการใช้อย่างเป็นธรรม (fair use) การอ้างอิงแหล่งข้อมูลในการทำวิจัยอย่างถูกต้อง

 

 

 

2. ความรู้ด้านสื่อ

ทักษะและความรู้ด้านสื่อ (media literacy) มีความคล้ายคลึงกับการอ่านออกเขียนได้ นั่นคือ เราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับตัวอักษรก่อน จากนั้นก็รู้จักคำ เข้าใจว่าคำนั้นหมายถึงอะไร และเมื่อมาประกอบเป็นประโยค เป็นย่อหน้า เป็นบทความ มันมีความหมายอย่างไร มีวิธีการเล่าเรื่องอย่างไร หลังจากอ่านออกเราก็จะเขียนได้ สร้างสรรค์เนื้อหาด้วยตัวเองได้ จนกระทั่งมีทักษะการอ่านออกเขียนได้ที่แข็งแรง

ความรู้ด้านสื่อก็เช่นกัน มันคือชุดความรู้ความสามารถในการเข้าใจ ตีความ วิเคราะห์ ประเมิน สร้างสรรค์เนื้อหาสื่อ ทุกวันนี้เราใช้ชีวิตอยู่ในโลกที่มีข้อมูลท่วมท้นจากสื่อมากมาย ไม่เพียงแต่สื่อเก่าที่คุ้นเคยกันดีอย่างโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ แต่รวมถึงสื่อดิจิทัล ทั้งโซเชียลมีเดีย วิดีโอไวรัล โฆษณาในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งถูกส่งต่อและแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่ว่าสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ สิ่งที่เหมือนกันคือ มีคนสร้างมันขึ้นมาและสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์บางอย่าง ชุดทักษะและความรู้ด้านสื่อจะช่วยให้เราตั้งคำถามว่า ใครเป็นคนสร้างเนื้อหาขึ้นมา วัตถุประสงค์ของเนื้อหานั้นคืออะไร และเนื้อหาดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร

ภาคีเพื่อการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 สรุปแก่นใจความสำคัญของความรู้ด้านสื่อไว้ดังนี้

  • เข้าใจว่าเนื้อหาในสื่อถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการใดและเพื่อวัตถุประสงค์อะไร รวมถึงสามารถประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยเฉพาะการแยกข้อเท็จจริงออกจากความเห็น อคติ โฆษณา และวาระซ่อนเร้น
  • ตรวจสอบได้ว่าคนเราตีความสื่อแตกต่างกันอย่างไร รู้ว่าอะไรคือคุณค่าและมุมมองที่ถูกเลือกใส่หรือไม่ใส่เข้ามาในการผลิตสร้างเนื้อหา รวมถึงเข้าใจผลกระทบของสื่อที่มีต่อความเชื่อและพฤติกรรมของสังคมโดยรวม
  • เข้าใจประเด็นทางจริยธรรมและทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและการใช้สื่อ
  • เข้าใจและเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์สื่อได้อย่างเหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์[จบbullet#]

นอกจากนั้นคอมมอนเซนส์มีเดีย (Common Sense Media) องค์กรไม่แสวงกำไรที่ต้องการพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านสื่อแก่เด็กและผู้ปกครอง ได้สรุปประโยชน์ของความรู้ด้านสื่อไว้ดังนี้5

  • คิดเชิงวิพากษ์: เราสามารถประเมินได้ว่าเนื้อหาในสื่อนั้นมีเหตุมีผลหรือไม่ เหตุใดข้อมูลนี้จึงถูกใส่เข้าไป แนวคิดหลักคืออะไร
  • เป็นผู้บริโภคที่ฉลาด: เราสามารถประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลหรือสินค้าได้ และเข้าใจเทคนิคการตลาดที่ใช้ในการขายของ
  • เข้าใจมุมมองในสื่อ: ผู้สร้างสรรค์สื่อทุกคนมีมุมมองที่ต้องการสื่อสาร เราจะเข้าใจมุมมองที่แตกต่างหลากหลายได้เมื่อเราพยายามเข้าใจมุมมองของผู้ผลิตสื่อ
  • สร้างสรรค์สื่อด้วยความรับผิดชอบ: ตระหนักถึงมุมมองที่ต้องการสื่อสารและวิธีการสื่อสาร และเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการสื่อสารของเรา
  • เข้าใจบทบาทของสื่อในสังคม: ตระหนักว่าสื่อมีบทบาทสำคัญในการกำหนดความเข้าใจของผู้คนที่มีต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ในโลก ไม่ว่าจะเป็นข่าวดารา ปกนิตยสาร ไปจนถึงโฆษณาไวรัลในโซเชียลมีเดีย
  • เข้าใจเป้าหมายของผู้สร้างสื่อ: อะไรคือสิ่งที่ผู้สร้างสรรค์สื่อต้องการบอกเรา เนื้อหานั้นเน้นให้ข้อมูล โน้มน้าวใจ หรือว่าเพื่อเสนอแนะแนวคิดใหม่ๆ ถ้าเข้าใจเป้าหมายดังกล่าว เราจะตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ดีขึ้น

 

 

 

3. ความรู้ด้านไอซีที

ทักษะและความรู้พื้นฐานด้านไอซีที (ICT literacy) มีความสำคัญต่อการเลือกและการใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองเป้าหมายของเราในฐานะพลเมือง ความรู้สำคัญด้านเทคโนโลยีที่พลเมืองดิจิทัลควรรู้มีดังนี้

  • เข้าใจแนวคิดและการทำงานพื้นฐานของเครื่องมือดิจิทัล เช่น เข้าใจคำศัพท์สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ เข้าใจการทำงานของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ คุ้นเคยกับสัญลักษณ์และอินเทอร์เฟซของเครื่องมือดิจิทัล รู้จักระบบปฏิบัติการที่หลากหลายและสามารถเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียได้
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ทำธุรกรรมออนไลน์ ติดต่อประสานงานร่วมกับผู้อื่น สร้างสรรค์ผลงานและถ่ายทอดความคิดของตน
  • เลือกใช้เทคโนโลยีได้เหมาะกับวัตถุประสงค์ เข้าใจข้อดีข้อเสียของเทคโนโลยีที่มีอยู่ในตลาด เช่น เลือกใช้แอปพลิเคชั่นที่ช่วยให้การทำงานเกิดสัมฤทธิผลสูงสุด หรือช่วยในการจัดการข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
  • เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและรู้จักวิธีใช้เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • เข้าใจประเด็นทางจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและการใช้ไอซีที

 

 

4. ทักษะและความรู้อื่นๆ ในการเป็นพลเมืองดิจิทัล

นอกเหนือจากชุดความรู้ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีไอซีที ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างพลเมืองดิจิทัลโดยตรง ทักษะการคิดขั้นสูงก็มีความสำคัญต่อการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน อาทิเช่น

  • ทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น: การใช้ไอซีทีเพื่อการสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลและเหมาะสมกับกาลเทศะ เช่น ใช้อินเทอร์เน็ตในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดกับกลุ่มคนที่มาจากพื้นเพหลากหลาย รู้จักเครื่องมือที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ใช้สื่อเครือข่ายสังคมเผยแพร่ผลงานของตนหรือกลุ่มได้ดี มีส่วนร่วมสร้างความรู้สาธารณะ 
  • ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม: การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สร้างองค์ความรู้ และพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น ใช้สื่อดิจิทัลในการแปลงแนวคิดให้ออกมาเป็นผลงานรูปธรรม ผสมผสานสื่อดิจิทัลที่มีอยู่เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา
  • การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา: การใช้ไอซีทีเพื่อประเมินความถูกต้องของข้อมูลได้อย่างมีวิจารณญาณ รวมถึงสามารถค้นหาและประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหา

 

5. ตัวอย่างโมเดลทักษะและความรู้ดิจิทัล

นอกเหนือจากทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับพลเมืองในยุคดิจิทัลที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว มีบุคคล สถาบัน และองค์กรเป็นจำนวนมากที่นำเสนอรายการทักษะและความรู้ดิจิทัลไว้อย่างน่าสนใจ 

หนึ่งในกรอบคิดที่น่าสนใจนั้นมาจากลี เรนีย์ จากสำนักวิจัยพิว และแบร์รี เวลล์แมน จากศูนย์วิจัยเน็ตแล็บในมหาวิทยาลัยโตรอนโต ได้เสนอทักษะและความรู้ชุดใหม่ในโลกเครือข่าย โดยเน้นย้ำถึงชุดความสามารถที่จำเป็นต่อการอาศัยอยู่ในโลกที่ทุนทางสังคมและความรู้นั้นฝังอยู่ในเครือข่ายดิจิทัล ดังนี้8 

  • ความรู้ด้านกราฟิก (graphic literacy): ความสามารถในการตีความเนื้อหาที่เป็นภาพกราฟิก และมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนและสรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆ ผ่านหน้าจอ
  • ความรู้ในการนำทาง (navigation literacy): ความสามารถในการจัดการกับแหล่งข้อมูลจำนวนมากที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นเส้นตรง (ข้อมูลถูกส่งจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งเหมือนสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์) แต่มีลักษณะเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันจำนวนมาก  
  • ความรู้ในการเชื่อมต่อและเข้าใจบริบท (context and connections literacy): ข้อมูลในโลกออนไลน์ไหลผ่านไปอย่างรวดเร็ว มีจำนวนมหาศาล และแยกขาดจากบริบทมากขึ้น เราต้องมีทักษะในการเชื่อมโยงข้อมูลและสร้างความหมายให้กับข้อมูล
  • ทักษะการโฟกัส (focus literacy): ความสามารถในการลดสิ่งรบกวนจากโลกที่มีการเชื่อมต่อทุกที่ทุกเวลา และทำงานให้เสร็จลุล่วงได้ตามกำหนด
  • ทักษะการทำงานพร้อมกันหลายอย่าง (multitasking literacy): ความสามารถในการจัดการงานหลายอย่างพร้อมกัน 
  • ความระแวงสงสัย (skepticism literacy): ในโลกที่ข้อมูลท่วมท้น นี่คือความสามารถในการ “ตรวจหาสิ่งไร้สาระ” หรือความสามารถในการแยกแยะแหล่งข้อมูลที่ตกยุค อคติ มีวาระซ่อนเร้น และหลอกลวง 
  • ความรู้ด้านจริยธรรม (ethical literacy): ความสามารถในการสร้างความไว้ใจและเพิ่มคุณค่าในสายตาคนอื่นด้วยการสร้างสรรค์และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม
  • ทักษะในการสร้างเครือข่าย (networking literacy): ความสามารถในการจัดการเครือข่ายอันหลากหลาย รวมถึงการค้นหาและเชื่อมต่อกับเครือข่ายใหม่ๆ

อีกหนึ่งแนวคิดเกี่ยวกับชุดทักษะและความรู้ดิจิทัลที่น่าสนใจมาจากเฮนรี เจงกินส์ ซึ่งเป็นชุดความรู้ด้านสื่อใหม่ (new media literacy) ที่จำเป็นสำหรับการสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมภายใต้นิเวศสื่อใหม่ ได้แก่9

  • เล่น (play): ความสามารถในการสำรวจและทดลองสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวในฐานะที่เป็นวิธีแก้ปัญหาแบบหนึ่ง ความสามารถในการเล่นกับสิ่งรอบตัวจะช่วยเราในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การออกแบบแนวคิดหรือชิ้นงาน หรือการเขียนรายงาน
  • การเล่นบทบาท (performance): ความสามารถในการปรับใช้อัตลักษณ์อื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและค้นหาสิ่งใหม่ๆ การปรับเปลี่ยนบทบาทได้อย่างคล่องแคล่วจะช่วยเราในการสำรวจชุมชนออนไลน์ใหม่ๆ การตัดสินใจลงมือทำบางอย่างโดยคำนึงถึงจริยธรรม และการปรับบทบาทระหว่างบ้าน ที่ทำงาน และโรงเรียน 
  • การจำลองสถานการณ์ (simulation): ความสามารถในการตีความและสร้างโมเดลที่สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกจริง การตีความ จัดการ และการสร้างสถานการณ์จำลอง จะช่วยให้เราเข้าใจระบบและกระบวนการที่ซับซ้อน เช่น ระบบนิเวศวิทยา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้ดีขึ้น
  • การผสมผสาน (appropriation): ความสามารถในการเลือกตัวอย่างที่น่าสนใจและผสมผสานเนื้อหาสื่อขึ้นมาใหม่ การผสมผสานเนื้อหาสื่อขึ้นใหม่จะช่วยให้เราเข้าใจงานสร้างสรรค์อื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี ชิ้นงานศิลปะ รวมถึงเรียนรู้ในประเด็นลิขสิทธิ์และการปะทะกันทางวัฒนธรรมได้มากขึ้น
  • การทำงานหลายอย่างพร้อมกัน (multitasking): ความสามารถในการสำรวจสิ่งรอบตัวอย่างรวดเร็วและเบนความสนใจไปที่รายละเอียดสำคัญ ในโลกที่ข้อมูลท่วมท้นและมีการสื่อสารกันตลอดเวลา ความสามารถในการรับมือกับงานหลายอย่างพร้อมๆ กันมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
  • การรู้คิดแบบกระจาย (distributed cognition): ความสามารถในการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อขยายศักยภาพทางความคิด ตั้งแต่เครื่องมือง่ายๆ อย่างไม้บรรทัดและเครื่องคิดเลข ไปจนถึงเครื่องมือที่ซับซ้อนขึ้นอย่างวิกิพีเดีย
  • ภูมิปัญญารวมหมู่ (collective intelligence): ความสามารถในการรวบรวมและเปรียบเทียบข้อมูลและความรู้จากหลายแหล่งเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ภูมิปัญญารวมหมู่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนเกินกว่าที่คนคนหนึ่งจะจัดการได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับโครงการโอเพ่นซอร์ซอย่างสารานุกรมเสรีวิกิพีเดียหรือระบบปฏิบัติการลินุกซ์  
  • ดุลยพินิจ (judgment): ความสามารถในการประเมินความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของแหล่งข้อมูลอันหลากหลาย ดุลยพินิจในที่นี้ยังรวมถึงการรู้จักแหล่งข้อมูลที่ดีและเหมาะกับวัตถุประสงค์ของเรา 
  • การกำกับทิศทางข้ามสื่อ (transmedia navigation): ความสามารถในการติดตามการเคลื่อนไหวของข้อมูลข้ามสื่ออันหลากหลาย การกำกับทิศทางข้ามสื่อจำเป็นต่อการค้นคว้าวิจัยซึ่งต้องติดตามข้อมูลที่มีการกระจายตัวข้ามสื่อต่างๆ 
  • การสร้างเครือข่าย (networking): ความสามารถในการค้นหา สังเคราะห์ และแพร่กระจายข้อมูล แค่การสร้างสรรค์บางอย่างขึ้นมายังไม่เพียงพอ เราจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในการแพร่กระจายมันไปยังกลุ่มเป้าหมายด้วย
  • การเจรจาต่อรอง (negotiation): ความสามารถในการท่องไปยังชุมชนอันหลากหลาย เคารพมุมมองที่แตกต่าง และทำความเข้าใจแนวคิดหรือแนวปฏิบัติทางเลือก ความสามารถนี้จำเป็นต่อการอาศัยอยู่ในโลกที่เราต้องเจอกับชุมชนที่แตกต่างหลากหลาย ตั้งแต่ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนโลก และชุมชนในโลกเสมือน
  • จินตทัศน์ (visualization): ความสามารถในการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของโมเดลภาพ และเข้าใจสิ่งที่โมเดลภาพต้องการสื่อสาร

 

บทสรุป

 

ข้อมูลและสารสนเทศที่ท่วมท้นอยู่ในโลกออนไลน์ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้เราโดยอัตโนมัติ ซ้ำร้ายอาจจะเป็นโทษด้วยหากเราถูกล่อลวงด้วยข้อมูลที่หลอกลวงหรือเป็นเท็จ ชุดทักษะและความรู้ดิจิทัลจะช่วยให้เราเข้าถึง วิเคราะห์ ประเมิน สร้างสรรค์ ไตร่ตรอง จัดการ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศออนไลน์ รวมถึงใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสื่อสาร ทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือกระทั่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในสังคม

แม้อินเทอร์เน็ตจะสร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลความรู้ซึ่งนับว่ามีประโยชน์มหาศาลกับพลเมืองดิจิทัลอย่างเรา แต่ข้อดีเหล่านั้นก็มาพร้อมกับความเสี่ยงในหลากหลายมิติเช่นกัน ในหัวข้อ ‘ความปลอดภัยแห่งศตวรรษที่ 21’ เราจะมาทำความรู้จักกับความเสี่ยงใหม่ๆ ที่วิวัฒน์ไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล และเรียนรู้วิธีรับมือกับความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างเท่าทัน

 


อ้างอิง

1 อ้างอิงจาก เจมส์ เบลลันกา และ รอน แบรนต์, ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21, แปลโดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเพ่นเวิลดส์, 2556).

2 ที่มาภาพประกอบ The Aspen Institute Communications and Society Program, Digital and Media Literacy: A plan of action (Washington, D.C.: The Aspen Institute, 2010).

3 Aaron, “วิธีค้นหาใน Google

4 Training Center, Google for Education, “หลักสูตรพลเมืองยุคดิจิทัลและความปลอดภัย

5 Common Sense Media, “What Is Media Literacy, And Why Is It Important?

6 Craig Silverman, “This Analysis Shows How Viral Fake Election News Stories Outperformed Real News On Facebook,” Buzzfeed, November, 17, 2016. และ Darrell M. West, “How to Combat Fake News and Disinformation, Brookings Institution,” December 18, 2017.

7 Lindsay Kolowich, “11 Brilliant Tools for Organizing, Developing & Sharing Your Ideas,” HubSpot, January 4, 2016, last modified December 4, 2017.

8 Lee Rainie and Barry Wellman, Networked: The new social operating system (Cambridge: MIT Press, 2014).

9 Henry Jenkins, Confronting the Challenges of Participatory Culture: Media education for the 21st century (Cambridge, MA: MIT Press, 2009).assignment help

The correct reliable essay producing customer service promotions made to order records of premium quality for affordable asking price. Go with best suited freelance writer to be essay written and published in some times writing help

https://essay-online.combuy essays cheapcustom essay writingessay writers

Choosing an essay compiled by professional person essay authors, you happen to be going to get good quality essay. Actually purchase essays done by experienced essay authors essay help

Are you feeling dreamig of “Generate my essay for the money” ? These keywords might not be heard more! With your specialized you will definately get increased leisure time and even more pay for essays

You should not torture yourself if you have no time or desire to write an essay on your own! Shop essay now and permit a pro staff attend to it essay paper