Admin

ตอบกระทู้

กำลังดู 5 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 5 (ของทั้งหมด 5)
  • ผู้เขียน
    ข้อความ
  • เพื่อตอบกลับ: จะตรวจสอบอีเมลแปลกๆ ที่ส่งมาให้ได้ยังไงบ้างครับ #591
    Admin
    Keymaster

    ข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับการดูว่าอีเมลนั้นเป็นหลอกลวงหรือไม่ มีดังนี้ครับ

    – ลองพินิจพิจารณาให้ดีว่า ข้อเสนอหรือรางวัลที่ได้รับทางอีเมลหรือเว็บไซต์ “ดีเกินจริง” หรือเปล่า เช่น อยู่ดีๆ ใครจะให้เงินเราเป็นสิบล้าน หรือเสนอไอโฟนรุ่นใหม่ให้เราฟรีๆ
    – ตรวจสอบที่มาของอีเมล เช่น เข้าเว็บไซต์ทางการเพื่อติดต่อสอบถาม หรือลองเอาเนื้อหาอีเมลไปใส่ในเครื่องมือค้นหา ส่วนมากการหลอกลวงเหล่านี้จะมีคนเคยรายงานเอาไว้
    – หากพบว่าเป็นอีเมลหลอกลวง ให้ลบอีเมลนั้นทิ้ง ห้ามส่งต่ออีเมลหรือแชร์ผ่านโซเชียลมีเดีย และหาทางรายงานการต้มตุ๋มผ่านช่องทางที่เหมาะสม เมื่อรู้ตัวว่าถูกหลอกเข้าให้แล้ว เราควรเปลี่ยนรหัสบัญชีออนไลน์ทันที แจ้งให้เพื่อนที่อาจตกเป็นกลุ่มเป้าหมายระวังตัว และแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน

    เพื่อตอบกลับ: ข้อควรระวังหากต้องเข้าไปใช้งาน Wi-Fi สาธารณะ #574
    Admin
    Keymaster

    ในการเชื่อมต่อ Wi-Fi ตามที่สาธารณะ มีข้อควรคำนึงดังนี้
    – พยายามหลีกเลี่ยงการล็อกอินเข้าใช้บริการสำคัญๆ เช่น การลงชื่อเข้าใช้บัญชีอีเมล สั่งซื้อของ หรือโอนเงินผ่านระบบธนาคารออนไลน์ เนื่องจากอาจมีคนดักจับรหัสผ่านหรือข้อมูลการเงิน

    – ดูว่าเว็บไซต์ที่เราจะเข้ารองรับการเข้ารหัสหรือไม่ โดยให้สังเกตที่ยูอาร์แอล (URL หรือ Uniform Resource Locator คือที่อยู่ซึ่งใช้ระบุแหล่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เช่น https://pantip.com/ สำหรับการเข้าถึงเว็บไซต์พันทิป) ว่ามีคำว่า HTTPS (S ตัวท้ายย่อมาจาก Secure หมายถึงเวอร์ชั่นที่ปลอดภัยมากขึ้นของ HTTP) ซึ่งเป็นการเข้ารหัสจากเครื่องของเราไปยังเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง

    เพื่อตอบกลับ: ขอคำแนะนำในการตั้งรหัสผ่าน #572
    Admin
    Keymaster

    หลักการอย่างง่ายๆ ในการตั้งรหัสผ่าน ได้แก่
    – รหัสควรมีความยาวอย่างน้อย 8 อักขระขึ้นไป
    – สร้างรหัสที่ประกอบด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน
    – หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัวที่คาดเดาได้ง่ายและไม่เป็นความลับ เช่น วันเกิด บ้านเลขที่ เลขผู้เสียภาษี ทะเบียนรถ เบอร์โทรศัพท์ หรือชื่อเล่น ชื่อสัตว์เลี้ยง ชื่อโรงเรียน ชื่อทีมกีฬาทีมโปรด
    – หลีกเลี่ยงคำศัพท์ที่เป็นคำสามัญทั่วไป (คำที่ปรากฏในพจนานุกรม) เช่น CAT, DOG, LOVE
    – หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรหรือตัวเลขเรียงกันตามลำดับ เช่น ABCD 1234 หรือการเรียงรหัสตามตำแหน่งคีย์บอร์ด เช่น QWERT
    – เทคนิคการตั้งรหัสผ่าน: สร้าง “วลีรหัสผ่าน” ด้วยประโยคที่เราคุ้นเคย เช่น I met Som in Chiang Mai in 2008. แล้วนำอักษรตัวแรกของแต่ละคำมาสร้างรหัสผ่านและเปลี่ยนบางคำให้เป็นสัญลักษณ์ (ImS@CM#2008) เทคนิคนี้ช่วยสร้างรหัสผ่านที่รัดกุม หลากหลาย และจำได้ง่าย

    Admin
    Keymaster

    การใช้อินเทอร์เน็ตในที่สาธารณะ เช่น เช่น คอมพิวเตอร์ในห้องสมุด แล็บท็อปของที่ทำงาน หรือโทรศัพท์มือถือของเพื่อน เราควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

    – หลีกเลี่ยงการล็อกอินเข้าบริการที่สำคัญ เช่น อีเมล โซเชียลมีเดีย และธนาคารออนไลน์
    – เลือกใช้โหมดส่วนตัวในบราวเซอร์ เช่น โหมด Incognito ในกูเกิลโครม (เลือกคำสั่ง “หน้าต่างใหม่และไม่ระบุตัวตน” หรือกด Ctrl + Shift + N) หรือ Private Browsing ในไฟร์ฟ็อกซ์ (เลือกคำสั่ง “หน้าต่างส่วนตัวใหม่” หรือกด Ctrl + Shift + P) และปิดบราวเซอร์ทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ
    – ออกจากระบบทุกครั้งหลังใช้งานและไม่ตั้งค่าให้เครื่องจำรหัสผ่านหรือสถานะของผู้ใช้
    – ไม่บันทึกไฟล์ข้อมูลสำคัญลงในเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ
    – ตรวจสอบตัวดักข้อมูล (keylogger หรือ keystroke logger เป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งจะบันทึกการกดแป้นพิมพ์เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญของเรา เช่น รหัสผ่านธนาคารออนไลน์) แบบฮาร์ดแวร์ โดยดูว่ามีสายไฟแปลกๆ ที่เชื่อมคีย์บอร์ดกับช่องเสียบด้านหลังคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ ถ้ามีอุปกรณ์ที่ไม่แน่ใจเสียบอยู่ ให้สงสัยว่าเป็นตัวดักข้อมูล และหลีกเลี่ยงการใช้งานที่สุ่มเสี่ยง

    Admin
    Keymaster

    การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ในเบื้องต้นเราอาจถามตัวเองก่อนกับ 4 คำถาม ได้แก่

    1. ที่ไหน: ข่าวสาร ข้อมูล และความคิดเห็น ถูกเผยแพร่ผ่านแหล่งข้อมูลประเภทใด เป็นเว็บไซต์ธุรกิจ สถาบันข่าว หรือบล็อกส่วนตัว แล้ววัตถุประสงค์ของเว็บนั้นคืออะไร เพื่อขายสินค้า เพื่อโน้มน้าว เพื่อให้ข้อมูล เพื่อความบันเทิง เพื่อประโยชน์สาธารณะ เราสามารถเช็คโดเมนเนมเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสถาบันได้ เช่น .edu กับ .gov จะเป็นโดเมนเนมที่กันไว้สำหรับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานรัฐเท่านั้น ส่วน .com หรือ .net นั้น ใครก็สามารถใช้ได้

    2. ใคร: เราควรตรวจดูว่าใครเป็นผู้ผลิตเนื้อหานั้นๆ แล้วลองสืบค้นดูคุณสมบัติและบริบทแวดล้อมตัวผู้ผลิตว่ามีแรงจูงใจอะไร นอกจากนั้นเราสามารถตรวจสอบได้ที่หัวข้อ “เกี่ยวกับเรา” (about us) ลองอ่านประวัติขององค์กรผู้จัดทำ เป้าหมาย ผลงานที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ติดต่อ ทั้งหมดนี้จะช่วยเราตัดสินใจว่าเว็บไซต์นี้น่าเชื่อถือมากเพียงใด

    3. อะไร: เนื้อหาที่ถูกนำเสนอนั้นมีข้อมูล แนวคิด และมุมมองอย่างไร ถูกนำเสนออย่างรอบด้านหรือไม่ ถ้าไม่ เราควรใช้กฎเลขสาม คือเปรียบเทียบแหล่งข้อมูลอย่างน้อยสามแหล่ง โดยเลือกแหล่งข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลอีกด้านด้วย นอกจากนั้นเว็บไซต์ที่ออกแบบดี เป็นระบบ ให้ความสำคัญกับการใช้งานจริงของผู้ใช้ รวมถึงใส่ใจกับการการสะกดคำ ย่อมน่าเชื่อถือมากกว่าเพราะเป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้จัดทำใส่ใจกับเนื้อหาและการนำเสนอจริงๆ ไม่ใช่ทำขึ้นมาเพื่อหวังผลระยะสั้น

    4. เมื่อใด: ควรตรวจสอบว่าเนื้อหานั้นเผยแพร่ออกมาเมื่อใด เพื่อดูว่าเนื้อหานั้นทันสมัยหรือเปล่า และเพื่อให้เข้าใจบริบทด้านเวลาที่เนื้อหานั้นถูกสร้างขึ้น

กำลังดู 5 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 5 (ของทั้งหมด 5)